จะหาความสุขในการทำงานได้ยังไร ?

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเล่าเรื่องของการทำงาน ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่คิดว่า ทุกคนที่อยู่ในวัยทำงาน ก็น่าจะกำลังเผชิญกันอยู่ไม่มากก็น้อย

เรื่องงาน อาจจะเป็นเรื่องหลัก ของความทุกข์ ความกังวลใจ ในชีวิต ของใครหลายหลายคน ในตอนนี้เลยก็ได้นะครับ

ผมขอมาแชร์ในมุมมองจากประสบการณ์ของผม ที่ก็พยายามใช้ หลักการเหล่านี้อยู่

หลายอย่างก็ใช้ได้ผลดี หลายอย่างก็อยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้กันต่อไป

ผมเป็นพนักงานประจำ ทั่วไป ที่ก็มีปัญหาทั้งเรื่องงาน เรื่องคนเหมือนเหมือนกันเป็นปกติ

ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ เล็กบ้าง ใหญ่บ้างก็พยามหาทางแก้ไขกันต่อไปในแบบของผม

วันนี้ผมสรุปมา 5 ข้อ ที่ถ้าทำได้แล้วมันจะช่วยเพิ่มความสุข ความสนุกในการทำงาน

ความรู้ส่วนใหญ่ก็ได้มาจากการอ่านหนังสือ ฟังพ็อทคาส แล้วเอามาลองเทียบ ลองปรับ กับชีวิตทำงานจริงๆ มันก็ใช้ได้ผลได้ดีทีเดียวครับ

.

1. หาความหมายของงานที่เราทำ

เข้าข้อแรก ก็เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำค่อนข้างยากนะครับ

แต่ถ้า หาได้แล้วมันจะช่วยนำทางแล้วก็เป็นกำลังใจชั้นดีให้เรา แรงมีกำลังที่จะ ทำงานนั้นจนประสบความสำเร็จครับ

ผมค่อนข้างโชคดีนะครับมาทำงาน ในสายงานขายและการตลาด และธุรกิจ ก็จะไม่ได้มีขั้นตอนที่ fix ตายตัวออกแนวพัฒนาแนวคิดพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ

เท่าที่ผมทำมา 4–5 งาน ทุกงานก็มีความหมายของมันอยู่ จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับมุมมองที่เรามองไปงานนั้นๆ

หรือพูดง่ายง่ายก็คือ ถ้ามันไม่มีความหมาย ไม่มีประโยชน์ ก็คงไม่มีตำแหน่งงานนั้นอยู่ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

ในเรื่องของความหมายผมขอแบ่งออกเป็น 2 ระดับ แล้วกันนะครับ

ระดับแรกก็คืองานที่มีคนออกแบบไว้เป็นส่วนใหญ่แล้ว เราก็เข้าไปทำตามแบบ ขั้นตอนมาตรฐาน แล้วพอเชี่ยวชาญแล้วก็ สามารถปรับปรุง พัฒนา เพิ่มเติมเข้าไป

ในแบบที่สองก็คือเป็นงานใหม่เลยไม่เคยมีใครทำหน้าที่นี้มาก่อนเราจะต้องหาข้อมูล เพื่อออกแบบขั้นตอนการทำงาน หาไอเดีย ใหม่ใหม่

มันจะมีความยากง่าย ความท้าทายและความสนุก ที่แตกต่างกันนะครับ

ปัญหาของผม ที่เคยเจอคือ จะได้รับผลกระทบเมื่อมีการเปลี่ยนนโยบายหรือเปลี่ยนผู้บริหาร

บางช่วงเวลา งานผมได้รับการผลักดันอย่างดีมาก เพราะมันไป ไปตรงกับนโยบาย ของบริษัทในช่วงนั้น

แต่ทำไปทำมามีการเปลี่ยนแปลง นโยบาย งานที่ทำอยู่ก็ถูกลดความสำคัญลงทรัพยากรก็ค่อนข้างจำกัดกันเลยทีเดียว

เท่าที่ผ่านมา สิ่งที่จะนโยบายจะโฟกัสมันก็มีอยู่สามเรื่องหลักๆ คือ sales หรือยอดขายหรือกำไร บริหารต้นทุน Growth หรือเน้นการเจริญเติบโต ทำธุรกิจใหม่ Branding เน้นภาพลักษณ์

แต่สิ่งหนึ่งที่องค์กร จะต้องให้ความสำคัญเสมอก็คือลูกค้า และ user ผู้ที่จะใช้สินค้าและบริการเรา

ซึ่งก็อันนี้แหละ ที่ผมเน้นเป็นข้อหลักเพราะถ้าเราไม่สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ ที่ตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับลูกค้าเราได้ มันก็ไม่สามารถจะขาย เติบโตหรือมีภาพลักษณ์ที่ดีได้อยู่แล้ว

ดังนั้นงานที่ผมทำผมก็ก็จะมองว่ามันไปแก้ปัญหาอะไรให้กับลูกค้าแต่ก็ ต้องไม่ลืมดูเรื่องธุรกิจด้วย เช่นต้นทุน โอกาสในการขาย คู่แข่ง พูดง่ายง่ายก็คือพัฒนาสินค้าที่มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ ส่งมอบสินค้าและบริการไปยังยูเซอร์เป้าหมาย เกิดการรับรู้ การซื้อครั้งแรก ซื้อซ้ำซื้อเพิ่ม บอกต่อ ถึงขนาดเป็นแฟนคลับให้ได้ยิ่งดี

ข้อนี้ก็ลองไปดูกันนะครับว่างานที่ทุกท่านทำกันอยู่ มันมีความหมายกับลูกค้าในมุมไหนบ้าง

หรือถ้าเรา อยู่ในขั้นตอนแรกๆ ต้นๆ ลูกค้า ของเรา ก็คือคนที่รับงานต่อจากเรา ก็ได้ครับ

ถ้าเรารู้แล้วว่างานที่เราทำอยู่มันมีความหมายยังไง ทำไมมันถึงต้องทำมันส่งผลกระทบถึงใครบ้าง ก็จะทำให้เรามีแนวทางมีกำลังใจที่จะทำงานนั้นนั้นให้ดีและพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยเรื่อยครับ

.

2. มีเป้าหมาย

เมื่อเรารู้ความหมายของงานและหน้าที่ของเราเจอแล้วก็เอามาออกแบบ ตั้งเป็นเป้าหมายว่าสิ่งที่เราทำถ้ามันจะเรียกว่าสำเร็จหรือมีความคืบหน้ามันคืออะไร

เช่น ยอดขาย ความพึงพอใจของลูกค้า ยอดเคลมน้อยๆ หรือกำไรเพิ่มขึ้น

เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็เอามาวางเป็น ตัวชี้วัด

สมัยก่อนเราใช้ตัว KPI : key performance indicator

ปัจจุบันก็มี OKR : objective key results

ถ้าโดยสรุป มันก็คือถ้าเราทำงานได้สำเร็จ มี Performance มีความคืบหน้าที่ดี มันจะต้องดูจากอะไร ปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่าสำเร็จ

ในส่วนของเป้าหมายและตัวชี้วัด มันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรารู้ว่า เราจะไปทางไหน และที่เรากำลังทำอยู่นี้มันถูกทางมั้ย สถานะและผลที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ มันดีหรือไม่ดี ดูหลักๆ จากตรงไหน

สิ่งที่ยากของการตั้งเป้าหมายคือ มันต้องสะท้อนผลของงานที่เราทำจริงๆและตัวชี้วัดที่ดี ก็ต้องเป็นตัวคีย์หลักจริงๆ และต้องวางออกมาเป็นตัวเลขให้ได้ และสอดคล้องกับเป้าหมายจริงๆ

จุดสำคัญก็คืออย่าวางตัวชี้วัดเพื่อเน้นให้เราสำเร็จ ไม่ใช่งานสำเร็จ เช่น วางเพื่อให้ผ่านได้ง่ายง่าย สุดท้าย เราได้เป้าหมายตามตัวชี้วัด แต่งานไม่ประสบผลสำเร็จจริง อันนี้ต้องระวังดันดีๆ นะครับ

แล้วเรื่องนี้มันมีผลกับความสุขในการทำงานยังไง?

ผมมองว่าถ้าเรามีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน มันจะทำให้เราลดความกังวล เพราะเราจะเห็นสถานะของงาน ความคืบหน้าของงาน หรือผลงานเราได้ตลอดเวลา

เพราะอะไรที่เรามองไม่เห็น เรามักจะกังวล และทำให้เราเครียด

แต่ อย่าลืมนะครับ ทั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด สามารถปรับเปลี่ยนปรับปรุงได้เสมอ เพื่อให้มันเป็นเป้าหมายและตัวชี้วัดจริงๆของงานที่เราทำ

.

3. โฟกัส

งานที่ประสบความสำเร็จทุกงานในปัจจุบัน มันไม่ได้มาด้วยความบังเอิญเพราะงานง่ายๆ งานพื้นฐานส่วนใหญ่ มันถูกทำมาแล้วในอดีต

เพราะฉะนั้นให้คิดเสมอว่า งานที่เราทำในปัจจุบันมันเป็นเรื่องที่ยาก ซับซ้อน

ผมเล่าให้ทีมฟังอยู่เสมอเสมอว่า เรื่องที่เรากำลังคุยกันอยู่ ที่เรา กำลัง วางแผนกันอยู่ มันคือครึ่งหนึ่งของเรื่องที่จะเกิดขึ้นจริงๆ

เพราะฉะนั้นอีกครึ่งหนึ่งเรายังไม่รู้ เราจะรู้เมื่อเราได้ลงมือทำ และมองหามัน เรียนรู้จากมัน แล้วนำมันมาวางต่อเป็นเส้นทางเพื่อไปสู่เป้าหมาย

มีคำนึงที่ผมค่อนข้างชอบก็คือ Connect the dot. …..

เริ่มแรกเราอาจจะมี แค่เป้าหมาย กับ จุดเริ่มต้น อยู่ไม่กี่จุด พอให้เรารู้ ทิศทางไปสู่เป้าหมาย

แต่หลังจากที่เราลงมือทำไปแล้วจำนวนจุด จะเพิ่มขึ้นและมองเห็นเป็นเส้นทางชัดขึ้น

อาจจะไม่ได้ไปตรงตามที่เราวางแผนในภาพแรกๆ หรืออาจจะมีเพิ่มอีก หลายๆ เส้นทางให้เราเลือก

เพราะฉะนั้นเราจะต้องพยายามมองหาจุดเหล่านั้นและเชื่อมโยงให้มันเป็นเส้นทางให้ได้

กลับมาที่เรื่องของโฟกัส ความหมายของผมก็คือ มันต้องโฟกัส มองหา เรียนรู้ วัดผล ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน สร้างสรรค์ วัดผล วนไปเรื่อยๆ

ซึ่งจะทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลย ถ้าเราไม่โฟกัสเพียงพอ

ผมเคยเห็น ตัวชี้วัด ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ เช่น เขาวัดกันที่ จำนวนโปรเจ็คที่รับผิดชอบ ตารางงานในปฏิทิน ที่อัดแน่นไปด้วยการประชุม หรืองานอื่นที่เพิ่มเข้ามาได้ง่ายๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน้าที่โดยตรง

หลายหลายคน ก็รู้ตัว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะมันจะดูไม่ดี ดูเหมือนไม่ทุ่มเท และอาจจะไม่เป็นที่ชื่นชอบ จนอาจจะโตยาก

ซึ่งหลายคนอาจจะติดวนเวียน อยู่ตรงนี้ ทำงานเยอะมาก ชีวิตวุ่นวาย ทำหลายอย่างรับผิดชอบหลายอย่าง แต่หลายๆ อย่างก็ยังสงสัยว่าทำไปทำไม

ถ้าจะไม่อยากจะให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ข้อแรก หาความหมายของงาน และหน้าที่ของเรา วางเป้าหมายและตัวชี้วัดที่แท้จริงโฟกัสที่เป้าหมาย เรียนรู้ระหว่าง สร้างเส้นทางด้วยจุดต่างๆ ที่เราจะต้องผ่านไป

เราจะยังคงทำงานเยอะเหมือนเดิม แต่ทุกงานที่เราทำ ทุกการประชุมที่เรามีเราจะรู้ว่าเราทำไปทำไม

และเมื่อใครมาถึงตรงนี้ได้ ความทุกข์ความกังวล จะเปลี่ยนเป็นความสนุกและท้าทาย

.

4. มองภาพกว้าง

อย่างที่ผมพูดไว้ในข้อแรกแรก โดยเฉพาะใครที่ทำงานสร้างสิ่งใหม่ๆ ธุรกิจใหม่ เราจะมองเห็นแค่เป้าหมายลางๆ กับเส้นทางที่เป็นจุดไม่กี่จุด

เกิน ครึ่งหนึ่งเราจะยังไม่รู้ จนกว่าเราจะค่อยค่อยเดินไป เพราะฉะนั้น จะเจอปัญหาแน่ๆ 100%

แล้วมันก็เป็นเรื่องปกติครับ เวลาเราเจอปัญหา เราจะโฟกัส เราจะหมกมุ่นอยู่กับปัญหา เพื่อหวังรีบเร่งแก้ปัญหาให้ได้เร็วที่สุด

แล้วก็เป็นเรื่องปกติครับ มันก็จะเกิดปัญหาที่ง่ายง่ายแก้ได้เลย ปัญหาระดับกลางๆ ที่ต้องใช้ความสามารถอีกหน่อยกับมีปัญหาที่ ยาก ซับซ้อน จนหาทางไม่ได้เลยในช่วงเวลานั้นๆ

จนหลายครั้งเราก็หลุดโฟกัสจากเป้าหมายและเส้นทาง ดูเหมือนมืดมนไปหมด

ถ้ามีสัญญาณแบบนี้ ให้เราถอยออกมาจนสามารถมองได้กว้างขึ้น แล้วมองกลับไปที่เป้าหมายมองไปที่เส้นทางที่เรากำลังเดินอยู่ แล้วดูว่าเราอยู่ตรงไหน

เราจะเห็นปัญหา เป็นเพียงแค่จุดจุดหนึ่ง ที่อาจจะขวางอยู่ระหว่างเส้นทาง

ถ้าเราสามารถมองเห็นภาพนั้นได้ปัญหามันจะเล็กลงทันที เราจะเห็นองค์ประกอบของปัญหา และแนวทางแก้ไขได้ง่ายขึ้น

พอพูดถึงเรื่องของปัญหาผมขอแวะที่ระดับความยากของปัญหานิดนึงครับ

ปัญหาที่ง่ายสุดคือ เรารู้ว่าปัญหามันคืออะไร สาเหตุมันคืออะไร และวิธีการแก้มันคืออะไร

ยากขึ้นมาหน่อยก็คือ รู้ว่าปัญหามันคืออะไร สาเหตุมันคืออะไร แต่ยังไม่รู้วิธีการแก้มัน

ยากขึ้นมาอีกนิดรู้ว่าปัญหามันคืออะไร แต่ยังไม่รู้สาเหตุและไม่รู้วิธีการแก้

และยากที่สุดก็คือ เราไม่รู้ว่าปัญหามันคืออะไร

ก็เอาเป็นว่าถ้าเราเจอปัญหาข้อยากยากให้ถอยกลับมามองภาพกว้างแล้วเราจะมองเห็นปัญหาเองครับ

.

5. ลงมือทำ เก็บข้อมูล เรียนรู้ ใช้ประสบการณ์อย่างคุ้มค่า

มันมีคำนึงในวงการ start up ที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ใหม่

Fail fast, fail cheep

ล้มเหลวเร็วๆ ล้มเหลวเล็กๆ ถูกๆ

ความหมายจากมุมมองของผมนั่นก็คือ การลงมือทำและเรียนรู้

การทำสิ่งใหม่ๆ ต้องเจอปัญหาอุปสรรค 100% และมันก็มักจะไม่ได้เป็นไปตามแผนอยู่บ่อยครั้ง และนั่นแหละครับที่เขาเรียกกันว่า Fail

แต่ สิ่งที่เราได้ ฃแน่นอน ก็คือ “ประสบการณ์”

การจะได้ประสบการณ์ที่ดีนั้นจะต้องเกิดจาก การลงมือทำ การเก็บข้อมูล และการเรียนรู้จากประสบการณ์นั้น

และที่สำคัญการนำสิ่งเรียนรู้ที่ได้รับมาปรับเปลี่ยน สร้างสรรค์ ออกแบบเส้นทางไปยังเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

หลายครั้ง เมื่อเราลงมือทำแล้ว เราอาจจะยังไม่แน่ใจเส้นทางที่ใช่ แต่เราจะค้นพบเส้นทางที่ไม่ใช่อยู่เรื่อยๆ

สำหรับข้อนี้ เมื่อเราเปิดรับความผิดพลาด จะทำให้เรากล้าที่จะลงมือทำ

เมื่อเรากล้าที่จะลงมือทำ เราก็จะได้ประสบการณ์

เมื่อเรา เรียนรู้จากประสบการณ์ เราก็จะ ได้ประสบการณ์ที่ดี

เราจะมี data, information , knowledge, whishdom

มาเสริมสร้าง ความมั่นใจให้เรา และความสุขมันจะเกิดจากตรงนี้นั่นแหละครับ

.

และนี้ ก็เป็นวิธีหาความสุขในที่ทำงานในรูปแบบของผม

หาความหมายของงานที่เราทำ วางเป้าหมายและตัวชี้วัด Focus และ connect the dot เมื่อเจอปัญหา ให้มองภาพกว้าง ลงมือทำ เรียนรู้ ใช้ประสบการณ์อย่างคุ้มค่า

แต่ก็อย่าลืมนะครับ คนเราไม่เหมือนกัน งานของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน รูปแบบ ความสุขในที่ทำงาน ก็จะมีแบบฉบับของแต่ละคน

เรื่องราว ที่นำมาแชร์ในวันนี้ ก็เป็น มุมมอง ความคิด ที่ต้องเอาไปปรับใช้ ให้เข้ากับแต่ละบริบทของ แต่ละคน

ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

สวัสดีครับ

#AgronomistX

×
Stay Informed

When you subscribe to the blog, we will send you an e-mail when there are new updates on the site so you wouldn't miss them.

Unlocking Value in Play: The Evolution of Digital ...
Special Offer Alert!
 

Comments

No comments made yet. Be the first to submit a comment
Already Registered? Login Here
Saturday, 18 May 2024
hello
COM_PAYPLANS_LOGGER_CRON_START